อักษรวิ่ง

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2562

การปฐมพยาบาล "แขนหรือขาหัก"



แขนหักหรือขาหักมีอาการที่สังเกตเห็นได้ เช่น พบกระดูกโผล่ออกผิวหนัง เลือดทะลักออกจากแผลและไหลไม่หยุด แม้จะกดแผลห้ามเลือดอยู่หลายนาที หรืออาการบาดเจ็บที่ศีรษะ ลำคอ และหลัง ผู้ช่วยเหลือสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ด้วยวิธีการ ดังนี้
  • ในกรณีที่ต้องห้ามเลือด กดแผลให้แน่นด้วยผ้าสะอาดจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
  • การประคบน้ำแข็ง หรือยกแขนขึ้นเหนือหัวใจ อาจช่วยให้แผลบวมน้อยลงได้
  • หากเสื้อผ้าที่ผู้ป่วยสวมใส่ปกปิดแขนบริเวณที่หัก ให้ถอดหรือตัดเสื้อผ้าออกแต่ห้ามขยับแขนเด็ดขาด
  • สำหรับอาการแขนหักที่ไม่รุนแรงมากนัก ให้ดามแขนโดยพันม้วนกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือไม้บรรทัด ด้วยเทปที่ใช้สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือดามแขนของผู้ป่วยโดยใช้ผ้าพันแผลพันไว้กับไม้กระดาน
  • หากพบว่าผู้ป่วยขาหัก ให้ผู้ช่วยเหลือดามที่ขาโดยใช้ผ้าพันแผลพันรอบหัวเข่า ข้อเท้า ในส่วนบน และล่างของบริเวณที่หักกับไม้กระดานหรือวัสดุดาม หรือดามไว้กับขาอีกข้างที่ไม่ได้รับบาดเจ็บ
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าการดามไม่ได้ส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดที่บริเวณแขนหรือขา
  • หากผู้ป่วยมีอวัยวะหักเป็นแผลเปิดที่มีชิ้นส่วนของกระดูกโผล่ออกมา พยายามอย่าแตะต้อง และให้ใช้ผ้าพันแผลปราศจากเชื้อโรคพันไว้ และรอความช่วยเหลือทางการแพทย์
  • ห้ามให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มใด ๆ เนื่องจากอาจต้องเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัด
  • รีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์โดยทันที ซึ่งแพทย์อาจเอกซเรย์ เข้าเฝือกแขน หรือผ่าตัดในกรณีที่กระดูกทะลุผิวหนัง เพื่อฟื้นฟูกระดูกส่วนที่ที่แตกหัก                                                      
  • ที่มา : https://www.pobpad.com/first-aid-                                                     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การปฐมพยาบาล "แขนหรือขาหัก" แขนหักหรือขาหักมีอาการที่สังเกตเห็นได้ เช่น พบกระดูกโผล่ออกผิวหนัง เลือดทะลักออกจากแผลและไ...